ข้อควรทราบการปฏิบัติงานกองทุน

การใช้ระบบงาน PVD Online

  • เมื่อผู้ใช้งานบันทึกรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านที่หน้า login แล้วขึ้นข้อความว่า "ไม่พบชื่อผู้ใช้งานนี้ในระบบ"
    เกิดได้จาก 2 สาเหตุ
    1. ผู้ใช้งานยังไม่ได้ลงทะเบียน แต่นำรหัสบริษัทและรหัสอ้างอิงไปใส่ในช่องรหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน (ที่ถูกต้อง คือ ต้องเข้าที่ลงทะเบียน และกดปุ่ม “ลงทะเบียนที่นี่”) หรือ
    2. ผู้ใช้งานระบุ username ไม่ถูกต้อง

  • เมื่อผู้ใช้งานลงทะเบียน แล้วระบบขึ้นข้อความว่า “ระบุรหัสอ้างอิงไม่ถูกต้อง”
    ผู้ใช้งานระบุ Reference Code ไม่ถูกต้อง เช่น ตัวอักษร l อาจสับสนระหว่าง ไอตัวใหญ่ หรือ แอลตัวเล็ก, ตัว O อาจสับสนระหว่าง ตัวอักษรโอ หรือ ตัวเลขศูนย์

  • เมื่อผู้ใช้งานลงทะเบียน แล้วระบบขึ้นข้อความว่า “ชื่อผู้ใช้งานนี้ไม่สามารถใช้ได้ เนื่องจากมีชื่อผู้ใช้งานนี้แล้วในระบบ”
    ผู้ใช้งานตั้งรหัสผู้ใช้งานซ้ำกับของท่านอื่นที่ได้ลงทะเบียนไว้ก่อนแล้ว ดังนั้น ผู้ใช้งานต้องตั้งชื่อผู้ใช้งานใหม่

  • เมื่อผู้ใช้งานลงทะเบียน และกรอก email แล้วระบบขึ้นคำว่า “Email นี้ถูกใช้งานแล้ว”
    อาจเกิดปัญหากรณีสมาชิกมีการโอนย้ายบริษัท หรือเปลี่ยนสถานะเป็นสมาชิกคงเงิน ซึ่งเคยระบุอีเมลนี้ในการลงทะเบียนกับบริษัทนายจ้างเดิม หรือ เคยใช้อีเมลนี้ ลงทะเบียนไว้ก่อนที่จะลาออกและขอคงเงินไว้ในกองทุน

  • สมาชิกเข้าระบบ PVD Online แล้วพบว่ายอดเงินรวมติดลบหรือเป็นศูนย์
    เกิดจากสมาชิกลาออกจากกองทุนแล้ว แต่ยังนำรหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน เข้าใช้งานในระบบ
    กรณีที่สมาชิกโอนย้ายบริษัท หรือเป็นสมาชิกที่ขอคงเงินไว้ในกองทุน: นายทะเบียนจะมีการจัดส่งรหัสผู้ใช้งานชุดใหม่ไปให้ทางvีเมลที่ระบุมาในแบบคำขอการคงเงินไว้ในกองทุน เพื่อนำไปลงทะเบียนใหม่

พนักงานสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุน

การส่งเงินเข้ากองทุน

การส่งข้อมูล

ใบเสร็จรับเงิน

นายทะเบียนจะส่งอีเมลใบเสร็จรับเงินให้กับเจ้าหน้าที่ด้านใบเสร็จรับเงินภายใน 5 วันทำการ หลังจากที่นายทะเบียนได้รับเงินนำส่งและไฟล์ข้อมูลถูกต้องครบถ้วน

รายงานที่นายทะเบียนจัดส่งให้บริษัท

นายทะเบียนจะส่งอีเมลรายงานสถานะเงินกองทุนฯ รายสมาชิก (รายงานที่แสดงข้อมูลยอดเงินรายสมาชิก) ภายในวันที่ 15 ของแต่ละเดือนให้กับเจ้าหน้าที่ด้านรายงาน

รายงานเงินกองทุนและแบบคำขอต่าง ๆ

  • สมาชิกสอบถามเรื่องผลประโยชน์ติดลบใน Statement
    ผลประโยชน์ของเงินสะสม และผลประโยชน์เงินสมทบที่ได้ จะขึ้นอยู่กับแผนการลงทุนที่สมาชิกแต่ละรายเลือกไว้ หากสมาชิกเลือกแผนการลงทุนในนโยบายหุ้น หรือนโยบายที่มีความเสี่ยงสูง และขณะนั้นตลาดหุ้นเป็นขาลง ทำให้ NAV หรือราคาต่อหน่วยอาจลดลง ซึ่งจะส่งผลให้มีโอกาสค่าเงินใน Statement จะแสดงผลประโยชน์ติดลบได้

  • สมาชิกต้องการ Statement กองทุนเพื่อนำไปยื่นภาษี
    สามารถดาวน์โหลดได้ในระบบ PVD Online ที่ https://eservice.scbam.com/mypvd/ หรือ Mobile Application ที่ SCB MyProvident

  • ขอแบบฟอร์มต่าง ๆ เกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
    สามารถดาวน์โหลดได้ในระบบ PVD Online ที่ https://www.scbam.com/th/pvd/pvd-download/

สมาชิกลาออกจากกองทุน

  • บริษัทต้องแจ้งนายทะเบียนเมื่อมีสมาชิกกองทุนลาออก โดยใช้ แบบฟอร์ม ทบ.003 : แบบฟอร์มแจ้งพ้นสมาชิกภาพ
    กรณีสมาชิกต้องการขอคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
    สมาชิกต้องกรอกแบบฟอร์มขอคงเงิน พร้อมชำระเงินค่าธรรมเนียม 500 บาท ไปยัง
    บัญชีกระแสรายวัน ธนาคารไทยพาณิชย์ หมายเลข:
    001-3-53250-9
    ชื่อบัญชี
    ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) - เพื่อนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
    และให้สมาชิกนำแบบฟอร์มขอคงเงิน พร้อมเอกสารประกอบ และหลักฐานการชำระเงิน ส่งมอบให้กับบริษัท เพื่อแนบเอกสารเหล่านี้มาพร้อมกับแบบฟอร์ม ทบ.003

  • หลังจากกรอกข้อมูลพร้อมลงนามโดยกรรมการกองทุนเรียบร้อยแล้ว สแกนแบบฟอร์มฯ พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ส่งอีเมลถึงนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ registrar_pvd@scb.co.th หรือส่งเอกสาร ภายใน 7 วันนับจากวันที่สมาชิกพ้นสภาพ ไปยังทีมบริการทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามที่อยู่ด้านล่าง

  • เช็คเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานที่พ้นสภาพ จะส่งไปยังบริษัทภายใน 30 วัน นับจากวันสิ้นสุดสมาชิกภาพกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

  • เมื่อสมาชิกลาออกจากกองทุน สมาชิกไม่เข้าใจว่า ทำไมเงินที่ได้รับเมื่อลาออกจากกองทุน จึงน้อยกว่ายอดเงินที่แสดงใน Statement
    สาเหตุเกิดจาก
    1. ยอดเงินใน Statement ประกอบด้วยเงิน 4 ส่วน คือ เงินสะสม ผลประโยชน์เงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์เงินสมทบ โดยเงินใน 2 ส่วนหลังนี้ เมื่อสมาชิกลาออกจากกองทุน สมาชิกแต่ละรายจะได้รับในสัดส่วนใด ขึ้นอยู่กับอายุงานที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุนส่วนของบริษัทนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น เมื่อสมาชิกลาออกจากกองทุนโดยอายุงานเข้าเกณฑ์ที่ได้รับเงินสมทบ และผลประโยชน์เงินสมทบไม่ถึง 100% จะทำให้สมาชิกได้รับเงินน้อยกว่าที่แสดงใน Statement เป็นต้น
    2. แม้ว่าสมาชิกจะได้เงินในส่วนสมทบและผลประโยชน์สมทบนี้ไป 100% ก็ตาม แต่ก็อาจจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย จึงทำให้ได้รับเงินน้อยกว่าที่แสดงใน Statement ได้
    3. แม้ว่าสมาชิกจะได้เงินในส่วนสมทบ และผลประโยชน์สมทบนี้ไป 100% ก็ตาม ตัวเลขยอดเงินใน Statement เป็นการคำนวณมูลค่าหน่วยลงทุนในกองทุนของสมาชิก ด้วยราคา NAV ณ วันที่แสดงยอดใน Statement นั้น แต่หาก ณ วันที่สมาชิกลาออก ราคา NAV ในขณะนั้นต่ำกว่า ณ วันที่แสดงใน Statement ก็อาจทำให้สมาชิกได้รับยอดเงินน้อยกว่าใน Statement ที่เคยจัดส่งให้ได้

  • สมาชิกที่แจ้งลาออก จะได้รับเงินเมื่อใด?
    การรับเงิน ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่อไปนี้
    • วันที่บริษัทนายจ้างส่งเอกสารมายังนายทะเบียน (และเอกสารต้องครบถ้วนถูกต้อง)
    • วันที่นำส่งเงินเข้ากองทุนงวดสุดท้าย (ต้องรอจัดสรรเงินนำส่งเข้ากองทุนให้ครบก่อนจึงทำรายการลาออกได้)
    • วันที่ลาออกจากกองทุน
    โดยจากวันที่เหล่านี้ วันใดเกิดหลังสุด นายทะเบียนจะใช้ Trade Date ถัดไปที่ใกล้ที่สุดในการจัดสรรหน่วยให้ (ทั้งนี้บริษัทต้องทำความเข้าใจว่ากองทุนที่สมาชิกลงทุนอยู่นั้น มีประกาศ NAV (Trade date) ทุกวันทำการ หรืออาทิตย์ละ 1 ครั้ง) เมื่อจัดสรรเรียบร้อยแล้ว วันที่ที่จะระบุหน้าเช็ค หรือโอนเงิน จะอยู่ประมาณ 7 วันทำการหลังจากวัน Trade date

  • สมาชิกกองทุนที่ลาออกจะได้เงินในส่วนสมทบของบริษัทร้อยละเท่าไร?
    ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละบริษัท สามารถดูได้จากเอกสารแนบท้ายข้อบังคับกองทุนฯ ที่แต่ละบริษัทกำหนดไว้เมื่อจัดตั้งกองทุน

  • เมื่อสมาชิกลาออกจากกองทุน สมาชิกต้องเสียภาษีเท่าไร?
    • กรณีที่ 1 อายุครบ 55 ปี และ อายุสมาชิก 5 ปีขึ้นไป ได้รับการยกเว้นภาษีทั้งหมด
    • กรณีที่ 2 ทุพพลภาพ หรือ เสียชีวิต ได้รับการยกเว้นภาษีทั้งหมด
    • กรณีที่ 3 ลาออกจากงาน โดยมีอายุงาน ตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป
      เงินได้ที่ได้รับ (ไม่รวมเงินสะสม) หัก ค่าใช้จ่ายได้ 2 ส่วน ก่อนคำนวณภาษี
      คือ หัก (7000 x จำนวนปีที่ทำงาน) และ ส่วนที่เหลือจากการหักส่วนแรกแล้ว ยังหักเป็นค่าใช้จ่ายได้อีก 50 %
    • กรณีที่ 4 ลาออกจากงาน แต่มีอายุงานน้อยกว่า 5 ปี หรือ ลาออกจากกองทุน แต่ไม่ลาออกจากงาน
      เงินได้ที่ได้รับ (ไม่รวมเงินสะสม) หัก ค่าใช้จ่ายได้ 1 ส่วน ก่อนคำนวณภาษี คือ หักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

สมาชิกขอรับเงินที่คงไว้ในกองทุน

กรณีรับโอนสมาชิกเข้ากองทุน

การเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้ประสานงาน

คำถามอื่น ๆ ของสมาชิก

  • สมาชิกต้องการสอบถามเรื่องเงินกู้
    ติดต่อสอบถามผ่าน HR ของบริษัท

  • สอบถามเรื่องวันเข้าเป็นสมาชิกกองทุน
    ติดต่อสอบถาม HR ของบริษัท เนื่องจากแต่ละบริษัทกำหนดในข้อบังคับของกองทุน เรื่องคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เข้าเป็นสมาชิกกองทุนไว้แตกต่างกัน

สอบถามเพิ่มเติม: ทีมบริการทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ธุรกิจบริการหลักทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ชั้น 17 โซนซี รัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 0 2795 3956 อีเมล: registrar_pvd@scb.co.th